วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดูแลเครื่องมือที่ทำด้วยแก้ว

 
 
การดูแลเครื่องมือที่ทำด้วยแก้ว
 
 
 
 
เครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นแก้วหรือกระจก มีมากมายหลายชนิด เช่น แก้วน้ำรูปทรงต่าง ๆ จาน ชาม ถ้วย ถาด กระจกเงา โต๊ะกระจก แจกัน โคมไฟแขวนประดับ เป็นต้น ซึ่งอาจทำจากแก้วเรียบ ๆ ธรรมดา หรือมีการแกะสลัก เจียระไนระบายสีให้เกิดลวดลายที่งดงามก็ได้ เครื่องแก้วเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดี คือ ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ มีความเปราะบาง แตกหักง่าย ดังนั้นจึงต้องรู้จักใช้และระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยร้าว เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน
เมื่อล้างเครื่องแก้วสะอาดดีแล้ว ควรเก็บใส่กล่อง ใช้กระดาษหรือเศษผ้าวางคั่นทีละใบกันกระแทก ถ้าเป็นแก้วไม่ควรวางซ้อนกัน จะดึงออกยาก และทำให้แตกได้
 


การดูแลเครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ

การดูแลเครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ
 
 


 
 
เครื่องเรือที่ทำด้วยโลหะ
วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง ขัดเงาขึ้นแวววาว นำความร้อนได้ดี ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์ เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา มีดังต่อไปนี้
 
1. เหล็ก เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เช่น มีด จอบ เสียม และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น ๆ มีวิธีดูแลรักษา ดังนี้
· ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ เช่น มีดสำหรับสับเนื้อ ไม่ควรนำไปฟันไม้ เป็นต้น
· หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง
· ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
· อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม ถ้ามีสนิมขึ้น ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด เช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่
 
การเก็บรักษา
เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง ปลอก หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม
 
 
2. เครื่องเงิน เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน เช่น ชุดน้ำชา ขันเงิน พาน โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ การดูแลรักษาควรปฏิบัติ ดังนี้
· ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
· ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ หรือน้ำมะนาวผสมสบู่ ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
· ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง แล้วขัดให้สะอาด
· ห้ามใช้ใยขัดโลหะ หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน และสึกหรอได้
 
การเก็บรักษา
เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง ใส่กล่อง แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ
 
 
3. อะลูมิเนียม เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม จัดทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้ เช่น หม้อ กระทะ ทัพพี ถาด ขันน้ำ มีวิธีดูแลรักษาดังนี้
· ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด ขัดให้สะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด
· รอยไหม้บนอะลูมิเนียม ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา
 
เมื่อทำความสะอาดแล้ว ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
 
 
4. เครื่องแสตนเลส มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อนได้ดี ทนทานต่อความกัดกร่อน สามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่เป็นสนิม และดูแลรักษาง่าย นิยมใช้ทำภาชนะหุงต้ม ภาชนะในการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น อ่างล้างชาม เป็นต้น
วิธีดูแลรักษา ใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจานขัดถูให้สะอาดคว่ำไว้ แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งแล้ว นำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
 

การดูแลเฟอร์นิเจอร์


การดูแลเฟอร์นิเจอร์
 


 
 
เฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความมากเทียบกับวัสดุอื่นๆที่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์
การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้ มีขั้นตอนที่อาจจะดูยุ่งยากมากว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากวัสดุอื่นๆ เนื่องจากคุณสมบัติของตัวไม้เองที่มีความคงทนต่อความชื้นและอุณหภูมิต่ำ อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของสัตว์เล็กๆ เช่นมอดและปลวกอีกด้วย แต่ก็แลกมาด้วยความสวยงาม ซึ่งมีสูงกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ อีกทั้งมีราคาแพงกว่ามากด้วย
โดยทั่วไปแล้วการดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้สามารถทำได้ดังนี้
1. รักษาเฟอร์นิเจอร์ของเราให้แห้งอยู่เสมอ เนื่องจากความชื้นสามารถทำลายคุณสมบัติของเนื้อไม้ได้
2. ไม่ปล่อยให้เฟอร์นิเจอร์ไม้ของเราสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะขอกจากอันตรายต่อเนื้อไม้แล้ว ยังอันตรายต่อสารเคลือบไม้ของเราด้วย
3. ไม่ให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สัมผัสกับเปลวไฟ เนื้องจากไม้เป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย ถึงแม้จะไม่ลุกไหม้ก็สามารถเกิดเม่าหรือเถ้าสีดำได้ ทำให้ความสวยลดลง
4. เมื่อเปื้อนคราบเครื่องดื่มหรืออาหารต้องทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้แห้งทันที
5. ทาสารเคลือบหรือชแล็คบ่อยๆ เพื่อรักษาผิวของเนื้อไม้ให้สวยงามอยู่เสมอและป้องกันมอดและปลวกได้ด้วย
การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้ขั้นตอนอาจจะมากสักหน่อย แต่สิ่งที่ได้ก็คุ้มค่ามาก เฟอร์นิเจอร์ไม้ของสวยจะสวยเงางามไปอีกนานเท่านาน

การเชื่อม


การเชื่อม
 


การถนอมอาหารด้วยการเชื่อม เป็นการนำผลไม้ไปต้มลงในน้ำเชื่อมจนผลไม้มีลักษณะนุ่ม เป็นประกาย ซึ่งเป็นการใช้น้ำตาลมาช่วยในการถนอมอาหาร มีลักษณะการใช้น้ำตาลเช่นเดียวกับวิธีการแช่อิ่ม การเชื่อมนิยมทำ เมื่อจะเก็บผลไม้บรรจุขวดหรือกระป๋อง น้ำเชื่อมที่ใช้อัตราส่วน ดังนี้
        - น้ำเชื่อมใส น้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำ 3 ถ้วย
        - น้ำเชื่อมปานกลาง น้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำ 2 ถ้วย
       - น้ำเชื่อมเข้มข้น น้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำ 1 ถ้วย
การบรรจุและการเก็บรักษา
       - บรรจุในกล่องที่มีฝาปิด
       - บรรจุในขวดหรือในกระป๋อง
ประโยชน์ของผักและผลไม้
       1. ช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน
       2. ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารให้แปลกได้



 

การตากแห้ง

 
การตากแห้ง
 
 
 
ตากด้วยแสงแดด
วิธีนี้เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุด ทำกันมาตั้งแต่ สมัยโบราณและยังคงทำกันอยู่ จนถึงปัจจุบัน เพราะว่าวิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อย ใช้อุปกรณ์น้อย และกรรมวิธีตากแห้งก็ง่าย จึงยังคง เป็นวิธีที่เหมาะสม สำหรับอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งปัจจุบันมีเตาอบพลังแสงอาทิตย์ ที่สะดวกและปลอดภัยจากการไต่ตอมของแมลงขณะตาก ด้วยตู้อบแสงอาทิตย์ใช้ในครัวเรือน มาตราส่วน 1:2

ตากด้วยเครื่องมือตากแห้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการตากแห้ง ชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้หลักการนำและการพาความร้อนในการตากแห้ง เช่น
1.            เครื่องมือตากแห้งแบบตู้อบลมร้อนไฟฟ้า (cabinet dryer) ใช้ หลักการพาความร้อนในการตากผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ให้แห้ง
2.            เครื่องระเหยแห้ง (spray dryer) ใช้หลักการพาความร้อนในการตากอาหารพวกไข่ น้ำนมโค น้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น อาหารที่จะเข้าเครื่องมือจะอยู่ในสภาพของเหลวหรือคล้ายแป้งเปียก และได้อาหารตากแห้ง เป็นผงแห้ง มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 3
3.            เครื่องมือตากแห้งแบบ Drum dryer ใช้หลักการนำความร้อน ในการตากแห้งอาหารพวกน้ำนม น้ำผัก กล้วย เป็นต้น อาหารที่จะป้อนเข้า เครื่องต้องเป็นพวกของเหลวหรือมีลักษณะคล้ายแป้งเปียก
4.            เครื่องมือตากแห้งแบบ Freeze dryer ใช้หลักการนำความร้อน ในการตากอาหารที่อยู่ในลักษณะแช่แข็ง อาหารที่เหมาะในการตากคือ เนื้อแช่แข็ง ได้เนื้อแห้งที่ดี มีความหนาแน่นน้อยกว่าตากแห้งด้วยเครื่องตาก ชนิดอื่น กลิ่นและสีคล้ายธรรมชาติมาก คืนรูปเป็นเนื้อสดได้สมบูรณ์และเก็บ ได้นาน เพราะวิธีตากแห้งชนิดนี้ใช้อุณหภูมิต่ำในการตากความชื้นจาก อาหารจะกระจายไปสู่บรรยากาศโดยวิธีการระเหิด ไม่ใช้ระเหยแบบวิธีตาก ชนิดอื่น ๆ แต่วิธีนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตากแห้งสูงเป็น 4 เท่าของค่าใช้จ่ายในการตากโดยเครื่องมือตากแห้งชนิดอื่น
คุณค่าทางอาหารของอาหารตากแห้งจะสูญเสียไปในระหว่างการ ตากแห้งบ้าง เช่น เนื้อตากแห้ง จะมีวิตามินน้อยกว่าเนื้อสดเล็กน้อย ส่วน โปรตีนนั้นขึ้นอยู่กับวิธีตากแห้ง
อาหารตากแห้งมีน้ำหนักเบากว่าน้ำหนักอาหารสด ง่ายต่อการ ขนส่ง และอายุการเก็บนานขึ้น เพราะอาหารตากแห้งมีสารอาหารที่เข้มข้น ขึ้น ความชื้นต่ำกว่าอาหารสด อาหารตากแห้งแต่ละชนิดจะมีความชื้นจำกัด อยู่ในขอบเขต เช่น ผลไม้แห้งมีความชื้นร้อยละ 4 และเนื้อตากแห้งมีความ ชื้นอยู่ร้อยละ 4 เป็นต้น อาหารตากแห้งที่มีคุณภาพดีจะไม่มีราขึ้นบนผิวอาหาร ไม่มีน้ำตาล เกาะอาหาร เวลาคืนรูปเป็นอาหารสดใช้เวลาคืนรูปภายใน 20 นาที มีอัตรา ส่วนของความหวานต่อความเป็นกรดหรือที่เรียกว่าความอร่อยอยู่ในเกณฑ์ ที่กำหนดของมาตรฐานอาหารตากแห้งแต่ละชนิด ไม่มีปริมาณซัลเฟอร์ได-ออกไซด์หรือสารกันหืนเกินกว่าที่อนุญาตไว้ในกฎหมายอาหาร และต้องเป็น อาหารแห้งที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคด้วย
การถนอมอาหารตากแห้งต้องคำนึงถึงภาชนะที่ใช้เก็บรักษา อาหารแห้ง ซึ่งต้องเป็นภาชนะปิดสนิท เก็บไว้ในที่ไม่อับชื้น แต่เป็นที่เย็น เพื่อยืดอายุการเก็บ

การดอง


การดอง

 




        การดองใช้กับอาหารทุกชนิด ทำได้โดยการใช้สารปรุงแต่งเพื่อเป็นตัวช่วยให้เกิดรสตามต้องการ และเป็นตัวรักษาอาหาร เช่น การดองด้วยเกลือ น้ำส้มสายชู การดองหวาน หรือบางครั้งการดองด้วยเกลืออาจทำให้เกิดผลเป็นการดองเปรี้ยวได้ เพราะปริมาณของเกลือที่ใช้มีอัตราส่วนเหมาะสมที่จะเกิดการหมัก กรดเปรี้ยวในอาหารหรือกรดแลคติดทำให้อาหารมีรสเปรี้ยว และช่วยรักษาอาหารไม่ให้เน่าเปื่อย
การเก็บรักษา
           อาหารดอง ควรเก็บรักษาในที่สะอาด แห้ง และเย็น อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรวางในที่ร้อน ชื้น และแสงแดดส่องถึง
ประโยชน์ของการดอง
           1. ทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้น เช่น ไข่เค็ม
           2. ทำให้อาหารมีสี กลิ่น และรสต่างออกไป เช่น ผักกาดดอง
           3. ทำให้อาหารที่ใช้บริโภคไม่ได้ ให้สามารถบริโภคได้ เช่น มะม่วงอ่อนดอง
           4. ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ เช่น น้ำส้มสายชู
           5. เสริมคุณค่าทางอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ซึ่งให้โปรตีนสูงกว่าถั่วสุกธรรมดา



บานชื่น


บานชื่น
 
 
 
บานชื่น เป็นไม้ดอกไม้ประดับชนิดล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามลึกซึ้งค่ะ ผู้ที่ได้พบเห็นดอกแล้วมักหลงใหลในเสน่ห์ของสีสันที่มีมากมายหลากสี เช่น สีเหลืองเข้ม สีบานเย็น สีแสด และสีขาว เป็นต้น

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinnia elegans
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Zinnia
ชื่ออื่นๆ บานชื่น , Poorhouse flower, Everybody flower
ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก

ประวัติและข้อมูลทั่วไปของ บานชื่น
บานชื่นนิยมปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือนและปลูกเป็นกระถาง เนื่องจากบานชื่นเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ไม่ต้องพิถีพิถันในการดูและรักษา มากมายแต่ให้ดอกที่สวยงาม สีสันสดชื่น เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมโดยไม่ต้องลงทุนมากมาย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

บานชื่นเป็นไม้ดอกฤดูเดียว ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบติดกับลำต้น ดอกมีหลายสี เช่น แดง ชมพู ขาว ส้ม เหลือง ม่วงและแสด แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ แต่ไม่มีกลิ่น

การปลูกและดูแลรักษา
บานชื่นเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องปลูกกลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่ถ้าได้มีการเตรียมดินให้ดีมีธาตุอาหารครบครัน มีการระบายน้ำดี กักเก็บความชื้นไว้พอควร ก็จะได้บานชื่นที่มีพุ่มต้นสวยสมบูรณ์ ดอกดก คุณภาพดอกดี ควรรดน้ำประจำทุกเช้า

การขยายพันธุ์ต้นบานชื่น
ทำได้โดยการ เพาะเมล็ด, ปักชำยอด
  

ดอกดาวกระจาย

 
 
ดอกดาวกระจาย
 
 
 
 
 
 
ลักษณะทั่วไปดาวกระจาย

ดาวกระจาย เป็นพืช ชนิด ไม้ดอกล้มลุก มีขนาดความสูงประมาณ 0.30-1.50 เมตร เรียกว่าพันธุ์เตี้ยและพันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม ตั้งตรง มีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามรูปหอก กว้าง 3-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเว้าลึกแบบขนนัก 5-7 แฉก ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ดอกดาวกระจายนั้นมีหลายสี สีดอกมีทั้ง สีเหลือง ส้ม หรือส้มอมแดง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบปลายกิ่ง มีทั้งดอกซ้อน รูปขอบขนาด ปลายหยัก 2-3 หยัก กลีบดอกชั้นในสีเหลืองเป็นหลอดกระจุกกลางดอก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 4-6 ซม. ออกดอกตลอดทั้งปี ผลของ ดาวกระจาย เป็นผลแห้งรูปกระสวยแคบ ที่ปลายมีขนแข็ง
                       
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used)

ดอกสวย ปลูกประดับสวน ปลูกลงแปลงเป็นกลุ่ม ริมถนน ทางเดิน เป็นจุดเด่นสวนหย่อม

การปลูกและดูแลรักษา

ดาวกระจายนั้นเป็นพืชที่มีอัตราเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ความชื้นปานกลาง และมีแสงแดดเต็มวัน
                       
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด


ดาวเรือง


ดาวเรือง
 
ดาวเรือง

            ดาวเรืองที่นิยมนำมาปลูกประดับมี ๒ พันธุ์ คือ

ดาวเรืองอเมริกัน หรือดาวเรืองแอฟริกัน (African marigold)เป็นดาวเรืองดอกใหญ่ ความสูงของต้นตั้งแต่ ๑๕ - ๗๕ เซนติเมตร มี ๓ สี คือ สีเหลือง สีทอง และสีส้ม เหมาะสำหรับปลูกประดับแปลง ทั้งในลักษณะที่ปลูกเลี้ยงในแปลงโดยตรง หรือปลูกเลี้ยงในกระถาง แล้วนำไปตกแต่ง โดยการฝังกระถางลงในแปลง หรือใส่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ณ สถานที่ที่ต้องการใช้ประดับ ดังที่กรุงเทพมหานครปฏิบัติ ในงานพระราชพิธีต่างๆ แต่ควรใช้พันธุ์ดอกสีเหลืองหรือสีทอง ไม่ควรใช้สีส้ม เพราะสีส้ม เมื่อรวมกลุ่มกันแล้ว สีจะไม่สดใส ส่วนสีเหลืองหรือสีทองจะดูสดใสสวยงามกว่า โดยเฉพาะเมื่อวางเป็นกลุ่มใหญ่ ควรเลือกพันธุ์ที่มีต้นขนาดปานกลาง ไม่สูงมากจนดูเก้งก้างและต้นล้มเอนลงเมื่อถูกแรงลม หากมีความจำเป็นต้องใช้พันธุ์ต้นสูง ควรพ่นด้วยสารชะลอการเจริญเติบโต เพื่อให้ข้อปล้องสั้น และพุ่มต้นกะทัดรัด ส่วนพันธุ์ที่มีต้นเตี้ยเกินไปก็ไม่เหมาะสม เพราะไม่ได้สัดส่วนกับความกว้างของถนน และความโอ่โถงของสถานที่ที่จะนำไปประดับ แต่เหมาะที่จะปลูกลงแปลง เพื่อตกแต่งในที่ ซึ่งต้องการประดับมากกว่า

ดาวเรืองฝรั่งเศส (French marigold)เป็นดาวเรืองดอกเล็ก ต้นเตี้ย ปลูกได้เฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น เพราะเป็นพันธุ์ที่ไวแสง กล่าวคือ ต้องการช่วงแสงในเวลากลางวันสั้นสำหรับการพัฒนาตาดอก แต่จะออกดอกดกมาก จนแทบจะมองไม่เห็นใบหากปลูกในฤดูหนาว ส่วนในฤดูอื่นจะออกดอกเพียง ๔ - ๕ ดอก และเฝือใบ ดอกมี ๓ สี คือ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ความสูงตั้งแต่ ๑๕ - ๔๐ เซนติเมตร
ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลูกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องจากเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ

การขยายพันธุ์ดาวเรือง
ทำได้โดยการใช้เมล็ดและการปักชำ แต่วิธีที่นิยมทำคือ การใช้เมล็ด เพราะได้จำนวนมากกว่า โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะเพาะ ซึ่งมีวัสดุเพาะ คือ ขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 หรือแปลงเพาะที่มีดินร่วนซุยค่อนข้างละเอียด คราดดินให้ผิวดินเรียบสม่ำเสมอ ทำร่องบนกระบะเพาะหรือแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงร่องห่างกัน 1-2 นิ้ว แล้วกลบแต่ละร่องด้วยวัสดุเพาะ หรือดินละเอียดเพียงบางๆ รดน้ำด้วยฝักบัวฝอยให้ชุ่ม แล้วคลุมกระบะเพาะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือคลุมแปลงเพาะด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อรักษาความชื้น เมล็ดดาวเรืองจะงอกภายใน 3-5 วัน เป็นต้นกล้า

การปลูกดาวเรือง

1. ไถเตรียมดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน

2. ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง

3. นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม

4. หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค

5. เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ ? นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย

6. ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่ จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้ แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่ ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง

7. หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่

8. หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้ ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้น


 
 
 


 



วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายธีรโชติ  สีไหม  ชื่อเล่น ธี  อายุ15ปี  วัน/เดือน/ปีเกิด 06/04/2542

เชื้อชาติ ไทย   สัญชาติ ไทย  ศาสนา พุธ  เป็นบุตรคนที่1 มีพี่น้อง2คน

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่20/14  หมู่3  ต.วันประดู่  อ.เมือง  จ.สุราษฎร์ธานี 84000

ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา  ปีการศึกษา2557  ชั้น ม.4/8

หมายเลขโทรศัพท์ 0869422018   อีเมลล์ Theerachot_tee@hotmail.com

สีที่ชอบ ดำ  วิชาที่ชอบ คณิตศาสตร์  หนังที่ชอบดู หนังผี  สัตว์ที่ชอบ หมา